แหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกุดบาก

foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
Welcome to Kutbakratbumrung School

บุคลากร

  • นายครรชิต วงค์แเต้ม
    นายครรชิต วงค์แเต้ม
  • นายเอกวัด ถานะลุน
    นายเอกวัด ถานะลุน
  • นายสุดสาคร ไชยเพชร
    นายสุดสาคร ไชยเพชร
  • นางไขนภางค์ ศรีมุกดา
    นางไขนภางค์ ศรีมุกดา
  • นางบัวสร นามเที่ยง
    นางบัวสร นามเที่ยง
  • นางกฤติกา พองพรหม
    นางกฤติกา พองพรหม
  • นางศศิตา เอื้อศิลามงคล
    นางศศิตา เอื้อศิลามงคล
  • นางไอลดา สิงหนสาย
    นางไอลดา สิงหนสาย
  • นายบุญลือ นามนิตย์
    นายบุญลือ นามนิตย์
  • นางประภาพร วรรณบุ้งทอง
    นางประภาพร วรรณบุ้งทอง
  • นางสาวรัตนา ลีลาชัย
    นางสาวรัตนา ลีลาชัย
  • นางพิกุลทอง กออำไพ
  • นายวันชัย ถนอมพลกรัง
    นายวันชัย ถนอมพลกรัง
  • นางกิตติธร อามาตย์ทอง
    นางกิตติธร อามาตย์ทอง
  • นางศุภวาลัย ปัญญาบัณฑิตกุล
  • นางสาวจันทร์จิรา คำภูแสน
    นางสาวจันทร์จิรา คำภูแสน
  • นางสาวภักตร์พิมล ผาลุธรรม
    นางสาวภักตร์พิมล ผาลุธรรม
  • นางสาวกัลยวรรธน์ อุปศักดิ์
  • นางสาวเบญญาภา จักรพิมพ์
    นางสาวเบญญาภา จักรพิมพ์
  • นายนิกร สายธิไชย
    นายนิกร สายธิไชย
  • นางเยาวภา หมู่แสนกอ
    นางเยาวภา หมู่แสนกอ
  • นายกฤษกร นรสาร
    นายกฤษกร นรสาร

Blue Flower

0003

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

สถิติการเยี่ยมชม

36099
วันนี้วันนี้38
เมื่อวานนี้เมื่อวานนี้11
สัปดาห์นี้สัปดาห์นี้86
เดือนนี้เดือนนี้49
ทั้งหมดทั้งหมด36099

Login Form

แหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกุดบาก

ภูถ้ำพระ

f0001

หลายท่านที่สนใจเรื่องราวของประวัติศาสตร์เมืองสกลนครคงจะทราบว่าที่ภูถ้ำพระ บ้านหนองสะไน ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร มีจารึกภาษาขอมอยู่ที่หน้าผาหินทรายใต้เพิงผา (ลักษณะคล้ายถ้ำ) บนภูเขาชื่อว่าภูถ้ำพระภาวนา ซึ่งกรมศิลปากร โดยนายชะเอม แก้วคล้าย และนายบุญเลิศ เสนานนท์ ผู้เชี่ยวชาญภาษาขอม ได้ถอดความออกเป็นภาษาไทย มีใจความว่า”ศักราช 988 ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 7 วันจันทร์นั้น ได้ประดิษฐานพระนี้ ด้วยความเคารพยิ่ง และวิตานนี้ อยู่ภายใน ซึ่งท่านครูโสมังคลาจารย์ได้จารึกประกาศ ภูถ้ำพระอยู่บนภูเขาที่ชื่อว่าภูถ้ำพระภาวนาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน และอยู่ห่างจากปราสาทภูเพ็กไปทางทิศใต้ประมาณ 5.6 กิโลเมตร เพิงหน้าผาที่มีจารึกภาษาขอม พบว่าส่วนหนึ่งของเพิงหน้าผามีแท่งหินทรายที่ตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณที่มีจารึกภาษาขอม ได้มีการทำคอกกั้นไว้เพื่อไม่ให้ใครเข้าใกล้ จารึกภาษาขอมบนแผ่นหินทราย

f0006

รอยเท้าไดโนเสาร์ ในเขตอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก ทีในท้องที่บ้านกุดแฮด ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร 

เป็นรอยเท้าที่ปรากฏบนแผ่นหินในหมวดหินพระวิหาร (Phra Wihan Formation) กลุ่มหินโคราช

ลักษณะทางกายภาพของหิน ประกอบด้วยหินทราย (Sandstones) สีขาวปนเหลือง สีส้ม และสีเทา ขนาดเม็ดละเอียดถึงหยาบ และยังมีหินทรายแป้ง (Siltstones) และหินโคลน (Mutdstones) ชั้นบางๆ แทรกอยู่

ส่วนลักษณะของรอยเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อ ในกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความแตกต่างกันมากทางขนาด ตั้งแต่ตัวเท่าไก่ จนถึงใหญ่กว่าช้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ เทอโรพอดขนาดใหญ่ (Carnosaur) และเทอโพอดขนาดเล็ก (Coelurosaurs)

ทั้งนี้ ไดโนเสาร์กินเนื้อ ในกลุ่มเทอโรพอด (Theropod) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน (สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย

f0005

f0004

วัดป่าคูณคำวิปัสสนา (หลวงปู่ขาว) ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 10 ต.กุดไห อ.กุดบากจ.สกลนคร ภายในวัดป่าคูณคำวิปัสสนา พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุ ที่ยอดอุโบสถของวัดป่าคูณคำวิปัสสนามีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เหนือขึ้นไปมีรังต่อขนาดใหญ่ที่มาสร้างรังอยู่ที่นั่น รอบอุโบสถมีหลวงพ่อทันใจประดิษฐานอยู่ทั้งสี่มุมของอุโบสถ พระมหาเจดีย์พระธาตุคูณคำวิปัสสนา ขนาดความสูง 49 เมตร กว้าง 15 เมตร ยาว 15 เมตร ที่สร้างครอบองค์พระธาตุพนมจำลอง ซึ่งข้างในมีเครื่องทรงกษัตริย์เจ้าพระยาเกรียงไกรต้นตระกูลของกษัตริย์ลาวอดีตชาติของหลวงปู่ฯ หลวงปู่ขาวฯ ท่านได้มาเมื่อสมัยยังเป็นเณร และพระธาตุเจดีย์ใหม่นี้สร้างเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของพระอริยะสาวกของพระพุทธองค์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในปัจจุบันและอนาคต ที่จะเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา อธิษฐาน ของเหล่ามนุษย์ เทพเทวดา พรหม และเหล่าพญานาคราชทั้งหลายได้มาพึ่งพา พระเจดีย์ฯ นี้เป็นฝีมือของพระและชาวบ้านที่วัดมาร่วมกันสร้าง

f0004

มื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ว่าควรพิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทางบริเวณต้นน้ำลำห้วยกระเฌอเพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านค้อน้อย และหมู่บ้านค้อใหญ่ในเขตตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร พื้นที่ประมาณ ๕,๕๐๐ ไร่ ให้สามารถทำการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคของราษำรในหมู่บ้านอย่างเพียงพอตลอดปี

ผลการดำเนินงาน ปี 2547

ได้ดำเนินการก่อสร้างระบบท่อส่งน้ำยาว ๑.๑๓ กิโลเมตร จำนวน ๒ แถว พร้อมตอม่อรับท่อส่งน้ำ และสะพานข้ามทางระบายน้ำล้น กว้าง ๓ เมตร ยาว ๖๐ เมตร ทั้งนี้ ราษฎรได้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อวางแผนการใช้ประดยชน์จากน้ำด้วยแล้ว

ประโยชน์ของโครงการ

มีระบบท่อส่งน้ำที่สมบูรณ์จะสามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่การเกษตร  ได้ ๗,๕๗๐ ไร่  ทำให้ราษฎร ตำบลกุดไห อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ได้รับประโยชน์ จำนวน ๕ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านค้อน้อย หมู่ ๕  ๒๒๗ ครัวเรือน หมู่ ๙  ๑๓๓ ครัวเรือน บ้านค้อใหญ่ หมู่ ๔  ๒๒๓ ครัวเรือน  หมู่ ๗ ๑๙๓ ครัวเรือน และ บ้านโนนสุวรรณ หมู่ ๔ ๑๑๗ ครัวเรือน รวม ๘๙๓ ครัวเรือน ๓,๘๔๘ คน มีน้ำใช้สำหรับทำการเกษตร เป็นการเพิ่มผลผลิตการเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชหมุนเวียน ตลอดจนการอุปโภค-บริโภคอย่างเพียงพอ

f0003

เป็นแหลงท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งในเขตป่าชุมชนบ้านกุดแอด อยู่ห่างจากอำเภอกุดบากไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๕ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากบ้านกุดแฮดประมาณ ๗ กิโลเมตร
ลักษณะเป็นบริเวณแนวผาของเทือกเขาภูพาน หน้าผ้ามีความยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร จุดที่เรียกว่าเหวหำหด จะมีชะง่อนหินที่แยกตัวจากหน้าผา และความลึกของหน้าผาประมาณ ๒๕๐ เมตร

ประวัติ ในอดีตบริเวณหน้าผามักจะมีฝูงผึ้งมาทำรังอยู่หลายๆรัง ชาวบ้านกุดแฮดเรียกว่าผาผึ้ง ถ้าเราไปยืนหน้าผาจะสามารถมองไปไกล ๆ หมู่แมกไม้ธรรมชาติหลากหลายชนิดที่ขึ้นอยู่ในลักษณะสลับซับซ้อนบนยอดเขาหลาย ๆลูก แต่ถ้ามองลงไปข้างล่างในระยะใกล้จะเห็นสภาพพื้นที่หรือต้นไม้ที่อยู่ลึกลงไป และก็เกิดความรู้สึกหวาดเสียว หวาดกลัว เป็นคำกล่าวของคนอีสานทั่วไปว่า กลัวจนหำหด แต่จริง ๆแล้วมีเรื่องเล่ากันมาว่า มีผู้หญิงแม่ลูกอ่อนคนหนึ่ง สามีพามาถางป่าจุดป่าทำไร่พริกไร่ฝ้ายบนป่าโคก และวันหนึ่งสามีได้ลงไปทางลุ่มเหวเพื่อหาอาหารป่า ฝ่ายภรรยาก็ทำงานที่สวนรอ จนนานสามียังไม่กลับมาเลยอุ้มลูกน้อยชื่อว่า บักหำ ซึ่งมีอายุ ประมาณ ๑ ปี ไปตามหา มาถึงแนวผาผึ้งก็ไปยืนริมหน้าผา ลูกน้อยก็คาสะเอวอยู่ปากก็ตะโกนด้วยความ หวาดเสียว ลูกน้อยที่แม่อุ้มอยู่ก็หดตัวกอดแม่ไว้แน่นก็เลยเป็นที่เรียกกันต่อ ๆมาว่า เหวบักหำหด ต่อมาเรียก สั้นๆว่า เหวหำหด

Copyright © 2024 Copyright Kutbakratbumrung School Rights Reserved.